Navigator: HOME >>
ข้อมูลสาระน่ารู้ การซื้อขายรถยนต์ รถยนต์มือสอง รถเก่า รถบ้าน และการขอสินเชื่อรถยนต์ CreditOnHand
เรียบเรียงโดย
บุญหนา จงถิ่นสุวรรณ
ฝ่ายวิชาการ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
บุญหนา จงถิ่นสุวรรณ
ฝ่ายวิชาการ สมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
"สวัสดี คุณใหญ่ ผมวิวัฒน์ งานยุ่งไม๊ครับ ช่วงนี้ พอดีผมมีเรื่องจะถามเรื่องนึง คือกรณี รถเช่าซื้อหายผู้เช่าซื้อต้องจ่ายเงินหรือไม่อย่างไร..??? ผมรู้ว่าผู้เช่าซื้อต้องจ่ายแต่ลงลึกในรายละเอียดชักไม่แน่ใจว่าต้องจ่ายตามหนี้คงค้างที่เหลือหรือคิดจากมูลค่าความเสียหายภายหลังหักเงินประกัน และถ้ามีตัวเลขประกอบคำอธิบายด้วยจะยิ่งดีใหญ่ครับ และสุดท้าย สมมติว่าหากได้รับรถคันดังกล่าวกลับคืนมา ใครจะได้เป็นเจ้าของกันแน่ครับ...!! "
รถเช่าซื้อหายผู้เช่าซื้อต้องจ่ายครับ จ่ายแน่นอนบิดพลิ้วไม่ได้เลยครับ แต่จะเป็นค่าเช่าซื้อค้างชำระหรือค่าเสียหายนั้นขึ้นอยู่กับตอนนั้นสัญญาเลิกหรือยัง คือมีหลักเกณฑ์อย่างนี้ครับ
การเช่าซื้อนั้นตราบใดที่ผู้เช่าซื้อยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบทุกงวด ผู้เช่าซื้อก็ยังไม่เป็นเจ้าของรถกรรมสิทธิ์ในรถที่เช่าซื้อยังเป็นของผู้ให้เช่าซื้อ และถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ ๓ งวดติดต่อกัน ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ หรือผิดตามเงื่อนไขในสัญญาข้อใดข้อหนึ่งอย่างมีนัยสำคัญผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที ซึ่งหากสัญญาเลิกแล้ว ค่าเช่าซื้อที่ผู้เช่าซื้อชำระมาแล้วทั้งหมดจะตกเป็นของผู้ให้เช่าซื้อและผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิ์ที่จะกลับเข้าครอบครองรถที่เช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อจึงต้องคืนรถให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อถ้าไม่คืนก็ต้องใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าจะคืน
ค่าเสียหายนั้นได้แก่ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถนั้นตลอดเวลาที่ผู้เช่าซื้อยังคงยึดถือรถอยู่ซึ่งในทางปฏิบัติบริษัทผู้ให้เช่าซื้อมักจะระบุไว้ในสัญญาเช่าซื้อให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าขาดประโยชน์เท่ากับค่าเช่าซื้อ แต่ศาลก็ไม่ให้ เพราะค่าเช่าซื้อนั้นมิใช่ค่าเช่าเท่านั้น แต่มีดอกเบี้ยรวมอยู่ด้วยศาลจะให้เพียงค่าเช่าเท่านั้น สำหรับกรณีที่รถที่เช่าซื้อสูญนั้นเคยมีคำพิพากษา ดังนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่๕๐๕/๒๕๓๕ ได้พิพากษาไว้ดังนี้
โจทก์ บริษัทเงินทุนพรประภา จำกัด
จำเลย นางสาวสุกัญญา กับพวกแพ่ง เบี้ยปรับ เช่าซื้อ (มาตรา ๓๗๙,๕๗๒)
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ในราคา ๓๘๖,๗๗๒ บาท ชำระเงินในวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาทส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น ๔๒ งวด งวดละ ๗,๐๖๖ บาท ชำระงวดแรกในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ และงวดสุดท้ายในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๒ จำเลยที่ ๒ที่ ๓ เป็นผู้คำประกันหลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง ๓ งวด เป็นเงิน ๒๑,๑๙๘ บาท คงเหลืออีก๒๗๕,๕๗๔ บาท แต่ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙ จำเลยที่ ๑ แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไปในกรณีรถที่เช่าซื้อหาย จำเลยที่ ๑ ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแก่โจทก์
จำเลย นางสาวสุกัญญา กับพวกแพ่ง เบี้ยปรับ เช่าซื้อ (มาตรา ๓๗๙,๕๗๒)
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์ในราคา ๓๘๖,๗๗๒ บาท ชำระเงินในวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาทส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น ๔๒ งวด งวดละ ๗,๐๖๖ บาท ชำระงวดแรกในวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ และงวดสุดท้ายในวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๒ จำเลยที่ ๒ที่ ๓ เป็นผู้คำประกันหลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้วจำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์เพียง ๓ งวด เป็นเงิน ๒๑,๑๙๘ บาท คงเหลืออีก๒๗๕,๕๗๔ บาท แต่ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๙ จำเลยที่ ๑ แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่ารถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไปในกรณีรถที่เช่าซื้อหาย จำเลยที่ ๑ ต้องรับผิดชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระแก่โจทก์
แต่เนื่องจากรถยนต์ที่เช่าซื้อมีประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยสากล จำกัด ซึ่งจะได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท โดยโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัย จึงนำเงินค่าประกันภัยดังกล่าวไปหักจำนวนเงินที่จำเลยที่ ๑ ค้างชำระตามสัญญาแล้วยังขาดอยู่เป็นจำนวน ๗๕,๕๗๔ บาท จำเลยที่ ๑ จึงต้องรับผิดชำระให้โจทก์ส่วนจำเลยที่ ๒ ที่ ๓ ก็ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ ๑ ต่อโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวด้วย โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสามเพิกเฉย ขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินจำนวน ๗๕,๕๗๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๑ ที่ ๓ ให้การว่า ตามสัญญาเช่าซื้อจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์แล้ว๙๐,๐๐๐ บาท และต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกเดือนละ ๗,๐๖๖ บาท รวมเป็นเงินตามสัญญาทั้งสิ้น ๓๘๖,๗๗๒ บาท ซึ่งหากจำเลยที่ ๑ ซื้อเป็นเงินสดรถยนต์ที่เช่าซื้อราคาเพียง ๒๙๕,๐๐๐ บาทแต่ในการนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปประกันภัยนั้นโจทก์กับบริษัทประกันภัยตีราคาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็น ๒๐๐,๐๐๐ บาทดังนั้น รถยนต์ที่เช่าซื้อจึงมีราคาที่แท้จริงเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาทเมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย โจทก์ก็ได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ๒๐๐,๐๐๐ บาท แล้ว รวมกับที่จำเลยที่ ๑ชำระเงินวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาท ชำระค่าเช่าซื้อ ๓ งวดเป็นเงิน ๒๑,๑๙๘ บาท และจ่ายเบี้ยประกันภัยอีก ๙,๐๐๐บาท นอกจากนี้เป็นเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์รับไปแล้ว ๒๐๐,๐๐๐บาท หากคิดค่าป่วยการเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปีในเวลาก่อนสัญญาเช่าซื้อถึงกำหนดไม่น้อยกว่า ๓๖ เดือน ก็เป็นเงิน ๘๘,๐๐๐ บาท ซึ่งเมื่อรวมเงินที่โจทก์ได้รับแล้วเป็นเงินถึง ๔๐๘,๑๙๘ บาท เงินที่โจทก์รับไปแล้วยังคิดเป็นค่าเช่าซื้อที่ต้องส่งเป็นเวลานาน จำเลยที่ ๑ ยังไม่ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาจึงไม่มีสิทธิฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง
จำเลยที่ ๒ ให้การว่า ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันโจทก์ขายรถยนต์ที่เช่าซื้อราคาเงินสด ๒๙๕,๐๐๐ บาท ถ้าซื้อโดยการเช่าซื้อ โจทก์รวมผลประโยชน์อื่นด้วยจึงเป็นราคา ๓๘๖,๗๐๐ บาท ทั้งผู้เช่าซื้อต้องประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อไว้กับบริษัทประกันภัยสากล จำกัด เมื่อรถยนต์สูญหายบริษัทประกันภัยจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวงเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ โจทก์และบริษัทประกันภัยสากล จำกัด ตกลงร่วมกันตีราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเพียง ๒๐๐,๐๐๐ บาท ดังนั้นรถยนต์ที่เช่าซื้อจึงมีราคา ๒๐๐,๐๐๐บาทเท่านั้น ในการทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่ ๑ ชำระเงินวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาท ชำระเบี้ยประกันภัย ๙,๐๐๐ บาท และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อไปแล้ว ๒๑,๑๙๘ บาท รวมเป็นเงิน ๑๒๐,๑๙๘ บาท เมื่อรวมกับเงินที่บริษัทประกันภัยชดใช้ให้อีก๒๐๐,๐๐๐ บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์รับไปแล้วจำนวน ๓๒๐,๑๙๘ บาท ซึ่งหากหักกับราคาค่าเช่าซื้อที่ต้องผ่อนชำระจำนวน ๓๘๖,๗๐๐ บาทแล้วคงเหลือ ๖๖,๕๐๒ บาทเมื่อเทียบจากราคาเงินสดที่โจทก์เสนอขายรถยนต์ที่เช่าซื้อในราคา ๒๙๕,๐๐๐ บาทแล้วย่อมเป็นการเพียงพอกับผลประโยชน์ที่โจทก์ได้รับนอกจากนี้เงินค่าประกันภัยที่โจทก์ได้รับจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาทเมื่อคิดเป็นค่าป่วยการเทียบกับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๑๕ ต่อปี ถึงวันสิ้นสุดสัญญาเช่าซื้อเป็นเงินไม่น้อยว่า ๘๐,๐๐๐ บาท เงินจำนวนนี้เมื่อเทียบกับเงินที่จำเลยยอมชำระค่าเช่าซื้อถึงวันฟ้องแล้วเห็นว่า จำเลยที่ ๑ ยังไม่ผิดนัด โจทก์มุ่งแต่เอาเปรียบโดยแท้ทั้งโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาจึงไม่มีสิทธิฟ้อง ขอให้ยกฟ้องศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน ๗๕,๕๗๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน ๗๕,๕๗๔ บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปีนับตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไปแก่โจทก์จนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยที่ ๒ ฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยไม่มีฝ่ายใดโต้เถียงกันว่า เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์ราคา ๓๘๖,๗๗๒ บาท ชำระเงินค่าเช่าซื้อวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ\แบ่งชำระเป็น ๔๒ งวด งวดละ ๗,๐๖๖ บาท ชำระแต่ละงวดภายในวันที่ ๑๕ ของทุกเดือน ชำระงวดแรกวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ โดยมีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓เป็นผู้ค้ำประกัน และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ตามสัญญา\เช่าซื้อเอกสารหมาย จ.๓ และสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.๖ และ จ.๗ ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่ ๑ นำรถยนต์\ที่เช่าซื้อไปเอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยสากล จำกัด เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย เอกสารหมาย ล.๑ หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ ๓ งวด คือ งวดที่ ๑ ที่ ๒ ชำระ\ให้ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘ เป็นเงิน ๑๔,๑๓๒บาท และงวดที่ ๓ ชำระให้ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน \๗,๐๖๖ บาทตามใบเสร็จรับเงินเอกสารหมาย จ.๑ จ.๒ ต่อมาวันที่ ๔-๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้าย\ลักไป บริษัทประกันภัยสากล จำกัด ผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท\ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๙ ตามใบเสร็จรับเงิน
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "ข้อเท็จจริงรับฟังได้โดยไม่มีฝ่ายใดโต้เถียงกันว่า เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๒๘ จำเลยที่ ๑ เช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากโจทก์ราคา ๓๘๖,๗๗๒ บาท ชำระเงินค่าเช่าซื้อวันทำสัญญา ๙๐,๐๐๐ บาท ส่วนที่เหลือ\แบ่งชำระเป็น ๔๒ งวด งวดละ ๗,๐๖๖ บาท ชำระแต่ละงวดภายในวันที่ ๑๕ ของทุกเดือน ชำระงวดแรกวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ โดยมีจำเลยที่ ๒ ที่ ๓เป็นผู้ค้ำประกัน และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ ๑ ตามสัญญา\เช่าซื้อเอกสารหมาย จ.๓ และสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.๖ และ จ.๗ ก่อนทำสัญญาเช่าซื้อจำเลยที่ ๑ นำรถยนต์\ที่เช่าซื้อไปเอาประกันภัยไว้กับบริษัทประกันภัยสากล จำกัด เป็นเงิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัย เอกสารหมาย ล.๑ หลังจากทำสัญญาเช่าซื้อแล้ว จำเลยที่ ๑ ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ ๓ งวด คือ งวดที่ ๑ ที่ ๒ ชำระ\ให้ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๘ เป็นเงิน ๑๔,๑๓๒บาท และงวดที่ ๓ ชำระให้ในวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน \๗,๐๖๖ บาทตามใบเสร็จรับเงินเอกสารหมาย จ.๑ จ.๒ ต่อมาวันที่ ๔-๕ กรกฎาคม ๒๕๒๙รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้าย\ลักไป บริษัทประกันภัยสากล จำกัด ผู้รับประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท\ตามสัญญากรมธรรม์ประกันภัยให้แก่โจทก์ผู้รับประโยชน์ไปแล้วเมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๒๙ ตามใบเสร็จรับเงิน
เอกสารหมาย ล.๓ รวมเงินที่โจทก์ได้รับไปแล้วทั้งสิ้น ๓๑๑,๑๙๘ บาท โจทก์เห็นว่า จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ขาดอีกจำนวน ๗๕,๕๗๔บาท ให้แก่โจทก์แต่จำเลยทั้งสามต่อสู้ว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์ได้รับผลประโยชน์ไปเพียงพอแล้วคดีมีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ ๒ ว่า จำเลยที่ ๒จะต้องร่วมกันชำระค่าเช่าซื้อที่ขาดหายจำนวนดังกล่าวให้แก่โจทก์หรือไม่ พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๗๒ บัญญัติว่า "...สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้นหรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าจะได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว" สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นสัญญาที่ประกอบด้วยสัญญาเช่าและคำมั่นว่าจะขายทรัพย์สิน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่ารถยนต์พิพาทจำเลยที่ ๑ เช่าซื้อไปจากโจทก์ถูกคนร้ายลักไป เมื่อรถยนต์พิพาทเป็นทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อสูญหายไป ย่อมมีผลทำให้จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อไม่ได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาทที่เช่าซื้อและในทำนองเดียวกันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าซื้อก็ไม่อาจจะขายหรือให้รถยนต์พิพาทตกเป็นสิทธิแก่จำเลยที่ ๑ ได้ตามคำมั่นหากจำเลยที่ ๑ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว กรณีเช่นนี้สัญญาเช่าซื้อจึงเป็นอันระงับไป เมื่อสัญญาเช่าซื้อระงับไปแล้วโจทก์ผู้เช่าซื้อคงมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ส่งไว้แล้ว และชอบที่จะกลับเข้าครอบครองทรัพย์สินที่ให้เช่าซื้อโจทก์หามีสิทธิที่จะเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ได้ไม่
แต่เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ ๑ ตกลงกันในสัญญาเช่าซื้อข้อ ๕ ว่า "ถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัย...สูญหาย...ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดและยอมรับชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ" ข้อสัญญาดังกล่าวจึงแปลได้ว่าเป็นข้อตกลงที่จำเลยที่ ๑ จะต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่รถยนต์พิพาทได้หายไปในระหว่างการครอบครองของจำเลยที่ ๑ ทำให้โจทก์ไม่สามารถกลับเข้าครอบครองได้ และถือว่าเป็นการกำหนดเบี้ยปรับโดยเอาค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระมาเป็นจำนวนค่าเสียหาย ดังนั้น ศาลย่อมกำหนดให้โจทก์ได้ตามควรแก่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเมื่อพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัทประกันภัยสากล จำกัดได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์แล้วจำนวน๒๐๐,๐๐๐ บาท เมื่อรวมกับค่าเช่าซื้อที่ จำเลยที่ ๑ ได้ชำระให้แก่โจทก์ไปแล้วเป็นเงิน ๑๑๑,๑๙๘ บาท จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับไปทั้งสิ้น ๓๑๑,๑๙๘ บาท เงินจำนวนดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นจำนวนเพียงพอกับความเสียหายของโจทก์ที่ไม่ได้รถยนต์พิพาทคืนแล้ว ศาลฎีกาไม่กำหนดให้โจทก์ได้รับค่าเสียหายจากจำเลยอีก ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระพร้อมดอกเบี้ยอีกนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของจำเลยที่ ๒ฟังขึ้นกรณีเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงพิพากษาให้มีผลไปจึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกาด้วย
"พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์"
จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น
เมื่อรถที่เช่าซื้อถูกลักไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อย่อมเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ส่งไว้แล้ว ส่วนค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้นผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระแม้สัญญาเช่าซื้อ จะมีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ได้ ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระหรือไม่ชำระก็ได้ถ้ากำหนดชำระจะกำหนดเท่าใดก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับชำระมาแล้วประกอบกับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับจากบริษัทประกันภัย หากเห็นว่า ค่าเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับมาแล้วรวมกับค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไม่เพียงพอ กับความเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับ ศาลก็จะกำหนดให้เพียงพอกับความเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับ แต่ถ้าเห็นว่าเพียงพอแล้ว ก็จะไม่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้ออีก อีกประการหนึ่ง ถ้าได้รถดังกล่าวคืนมา รถดังกล่าวก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์(ผู้ให้เช่าซื้อ)จำเลย(ผู้เช่าซื้อ)ไม่มีสิทธิในรถดังกล่าวอีกต่อไปเพราะสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว
จากคำพิพากษาฎีกาดังกล่าวข้างต้น
เมื่อรถที่เช่าซื้อถูกลักไป สัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ให้เช่าซื้อกับผู้เช่าซื้อย่อมเลิกกัน ผู้ให้เช่าซื้อคงมีสิทธิริบค่าเช่าซื้อที่ส่งไว้แล้ว ส่วนค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่นั้นผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิเรียกให้ผู้เช่าซื้อชำระแม้สัญญาเช่าซื้อ จะมีข้อตกลงให้ผู้ให้เช่าซื้อเรียกค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ได้ ศาลก็มีอำนาจกำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระหรือไม่ชำระก็ได้ถ้ากำหนดชำระจะกำหนดเท่าใดก็ได้แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรทั้งนี้ โดยคำนึงถึงค่าเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับชำระมาแล้วประกอบกับค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับจากบริษัทประกันภัย หากเห็นว่า ค่าเช่าซื้อที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับมาแล้วรวมกับค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยไม่เพียงพอ กับความเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับ ศาลก็จะกำหนดให้เพียงพอกับความเสียหายที่ผู้ให้เช่าซื้อได้รับ แต่ถ้าเห็นว่าเพียงพอแล้ว ก็จะไม่กำหนดให้ผู้เช่าซื้อชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้ให้เช่าซื้ออีก อีกประการหนึ่ง ถ้าได้รถดังกล่าวคืนมา รถดังกล่าวก็ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์(ผู้ให้เช่าซื้อ)จำเลย(ผู้เช่าซื้อ)ไม่มีสิทธิในรถดังกล่าวอีกต่อไปเพราะสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยเลิกกันแล้ว
เอกสารอ้างอิง :หนังสือกฎหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน สภาทนายความ คณะกรรมการโครงการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ
ข้อมูลจาก จุลสารสมาคมธุรกิจเช่าซื้อไทย
ขอขอบคุณแหล่งที่มา:http://www.taladrod.com/w/info/articleT.aspx?item=_T0001
ขอขอบคุณแหล่งที่มา:http://www.taladrod.com/w/info/articleT.aspx?item=_T0001